• 053-271-296
  •  เปิดทำการ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 08:00-17:00 น.
กฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการควรรู้ !
02 มี.ค. 2564

กฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการควรรู้ !

กฎหมายเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเอาไว้ควบคุมและบังคับการปฏิบัติให้เป็นไปตามแบบแผนเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและความถูกต้อง ซึ่งกฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ก็เป็นอีกหนึ่งกฎหมายที่ผู้ประกอบการอย่างเราควรให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับธุรกิจที่จะต้องมีบรรจุภัณฑ์เป็นของตัวเอง และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายหรือการเข้าใจผิดระหว่างผู้บริโภคกับผลิตภัณฑ์ค่ะ
บทความนี้ ลลิตา บรรจุภัณฑ์ จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ ว่ามีข้อตกลงอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ต้องการสั่งผลิตบรรจุภัณฑ์ได้ทราบและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง

พระราชบัญญัติ มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466

ผู้ประกอบการที่ต้องการสั่งผลิตบรรจุภัณฑ์ทุกคน จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลง พ.ร.บ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 อย่างเคร่งครัด โดยที่ปริมาณที่ระบุข้างบรรจุภัณฑ์นั้นจะต้องใช้อุปกรณ์การชั่งตวงและวัดที่มีใบรับรองมาตรฐาน เพื่อป้องกันและคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องของปริมาณที่ควรจะได้รับตามกำหนด ซึ่งการระบุปริมานข้างกล่องนั้นจะต้องเป็นตัวเลขอารบิคหรือตัวเลขไทยเท่านั้น และขนาดของตัวอักษรจะต้องไม่เล็กกว่า 2 ม.ม.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจผลิตหรือนำเข้าเกี่ยวกับอาหารและต้องการที่จะมีบรรจุภัณฑ์เป็นของตัวเอง จะต้องทำการขอขึ้นทะเบียนกับองค์กรอาหารและยาให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้ได้แบ่งสาระสำคัญออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

1. การขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร

เป็นการกำหนดให้ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจผลิตหรือนำเข้าเกี่ยวกับอาหาร ต้องนำสินค้ามาขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารกับองค์กรอาหารและยาก่อนทุกครั้ง เมื่อผู้ประกอบการได้รับใบรับรองการขึ้นทะเบียนตำรับอาหารแล้ว ก็สามารถผลิตหรือนำเข้าอาหารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วค่ะ แต่ถ้าหากมีการฝ่าฝืนไม่ยอมมาขึ้นทะเบียนตำรับอาหารก็จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี/ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งปรับทั้งจำเลยค่ะ

2. การขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร

หลังจากที่ไปขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหารมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปผู้ประกอบการจะต้องมาขอขึ้นทะเบียนฉลากอาหาร เพื่อที่จะได้แสดงข้อมูลและคุณค่าทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ให้ผู้บริโภคได้อย่างมั่นใจค่ะ เมื่อสินค้าของคุณได้รับใบอนุญาตฉลากอาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะนำใบอนุญาตนี้ไปยื่นให้กับโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อผลิตฉลากให้แก่สินค้าได้แล้วค่ะ

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

เป็นพ.ร.บ.ที่จัดทำขึ้นไว้สำหรับคุ้มครองผู้บริโภคโดยเฉพาะ เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้สิทธิและการคุ้มครองต่าง ๆ ที่ควรจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสารของสินค้าหรือบริการ การมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการโดยไม่มีการผูกขาดของตลาด ความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ รวมไปถึงการชดเชยความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการ ดังนั้นผู้ประกอบการควรที่จะให้ความสำคัญและใส่ใจทุกขั้นตอนของการผลิตบรรจุภัณฑ์ เพื่อที่จะส่งมองสินค้าที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าของคุณกันค่ะ

พระราชบัญญัติมาตรฐานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511

ผู้ประกอบที่จะสั่งผลิตบรรจุภัณฑ์ทุกคน จะต้องศึกษา พ.ร.บ. มาตรฐานอุตสหกรรม พ.ศ.2511 เสียก่อน เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้รู้สึกถึงความปลอดภัยและมั่นใจในผลิตภัณฑ์ของเรา เพราะ พ.ร.บ. ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อควบคุมมาตรฐานการผลิตให้เป็นไปตามแบบแผนข้อตกลง โดยทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) จะมีการทดสอบเพื่อรับรองคุณภาพจากห้องปฏิบัติการ และออกใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าบรรจุภัณฑ์ของคุณนั้นมีความแข็งแรงปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายค่ะ

กฎหมายข้างต้นที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการอย่างคุณนั้นควรที่จะศึกษาและให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะเป็นผลดีแก่ผู้ประกอบการแต่ยังทำให้ผู้บริโภคมั่นใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ของคุณอีกด้วยค่ะ 

ลลิตา บรรจุภัณฑ์ โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ครบวงจร ยินดีให้คำปรึกษาค่ะ เราพร้อมที่จะออกแบบ และผลิตบรรจุภัณฑ์ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สนใจสั่งผลิตบรรจุภัณฑ์กล่องกระดาษ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลลิตา บรรจุภัณฑ์ ได้เลยนะคะ

บทความนี้อัพเดทเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564