ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ส่งผลให้การสร้างฟอนต์รูปแบบใหม่ ๆ ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ทำให้นักออกแบบหรือแม้แต่ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์มือสมัครเล่นก็สามารถร่วมสร้างสรรค์ฟอนต์หลากหลายรูปแบบให้เราได้เลือกใช้กัน แต่รู้หรือไม่ว่า? รูปแบบของฟอนต์ในแต่ละแบบนั้นไม่เพียงแต่มีลักษณะโดดเด่น สะดุดตา และสวยงามเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการรับรู้และการจดจำของผู้ที่ได้พบเห็นอีกด้วย ดังนั้นวันนี้ลลิตา แพคเกจจิ้งจึงอยากแบ่งปันวิธีการเลือกฟอนต์ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างแบรนด์ธุรกิจให้กับพ่อค้าแม่ค้าทั้งมือเก๋าที่ต้องการรีแบรนด์ หรือมือใหม่ที่ยังเลือกฟอนต์โลโก้ให้แบรนด์ตัวเองไม่ได้สักที
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ฟอนต์แต่ละรูปแบบนั้นมีผลต่อผู้ที่ได้พบเห็น ทั้งด้านความรู้สึก ความคิด อารมณ์ และการจดจำ เพราะฉะนั้นการสร้างแบรนด์ สิ่งหนึ่งที่เราควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสินค้าเลยก็คือ ฟอนต์ ที่ถูกนำมาออกแบบเพื่อใช้เป็นโลโก้ พิมพ์บนกล่องพัสดุ ออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือ ออกแบบแพคเกจจิ้ง
ยิ่งถ้าหากคุณเป็นแบรนด์ไทยที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นคนไทยด้วยแล้วล่ะก็ การเลือกใช้ฟอนต์ไทยถือเป็นการสื่อสารผ่านตัวหนังสือที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ลลิตา แพ็คเกจจิ้ง จึงได้รวบรวม ฟอนต์ไทยยอดนิยม ที่ถูกนำมาใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์มากที่สุด ซึ่งฟอนต์ไทยแต่ละแบบที่เรานำมาฝากนั้น ให้ความรู้สึกที่ต้องการสื่อถึงกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันโดนสิ้นเชิง จะมีรูปแบบไหนให้เลือกบ้างนั้นไปดูพร้อมกันเลย
เริ่มต้นด้วยฟอนต์ไทยที่มีชื่อฟอนต์อ่านออกเสียงตรงตัวเลยก็คือ จักรเพชร (Chakra Petch) มีลักษณะการเล่นเส้นโค้งของตัวอักษรด้วยการหักเหลี่ยมไปตามมุมโค้ง เพื่อสร้างมิติให้กับตัวอักษรมากยิ่งขึ้น และยังสามารถมองเห็นได้ชัดเจนทั้งในระยะใกล้และระยะไกล ให้ความรู้สึกถึงความเป็นไทยดั้งเดิมผสมผสานกับความทันสมัย
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ Chakra Petch - Google Fonts
ไมตรี (Maitree) เป็นแบบฟอนต์ไทยที่มีลักษณะสัดส่วนตัวอักษรค่อนข้างกว้าง ด้วยการเชื่อมต่อเส้นบริเวณมุมโค้งตัวอักษรที่ใหญ่กว่าตัวอักษรภาษาไทยปกติ และด้วยเส้นฐานตัวอักษรที่ยื่นออกมาเล็กน้อย จึงกลายเป็นเส้นนำสายตา เพื่อให้สามารถอ่านได้ง่ายและต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เหมาะแก่การใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีข้อความจำนวนมาก นิยมใช้ทั้งในงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ Maitree - Google Fonts
อ่านออกเสียงว่า คชสาร (Kodchasan) ที่แปลว่า ช้าง รูปแบบตัวอักษรที่ไม่เป็นทางการ ด้วยลักษณะตัวอักษรที่มีส่วนเว้าส่วนโค้งคล้ายหัวของช้าง และการเล่นเส้นหางปลายตัวอักษรที่คล้ายงวงช้างตวัดไปมาอย่างอิสระ ซึ่งผู้ออกแบบต้องการนำเสนอ การใช้ตัวอักษรภาษาไทยที่แฝงไปด้วยลูกเล่นที่ดูทันสมัย ทั้งเส้นโค้งและเส้นตัด ตัวอักษร ให้ความรู้สึกขี้เล่น สัมผัสได้ถึงความแปลกใหม่ เหมาะสำหรับใช้สื่อถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่นได้เป็นอย่างดี
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ kodchasan - Google Fonts
ฟอนต์ที่หลายคนคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี หรือเห็นผ่านตาอยู่บ่อย ๆ บนนิยาย พ็อกเก็ตบุ๊ค หรือคำคมบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เพราะฟอนต์ พร้อม (Prompt) มีลักษณะตัวอักษรที่ดูเรียบง่ายไม่ซับซ้อน เป็นการนำทรงเรขาคณิตมาผสมผสานกับตัวอักษรภาษาไทย ให้มีพื้นที่เชิงลบหรือมุมตัดที่ให้ความรู้สึกโล่งโปร่งสบาย ผ่อนคลายเหมาะสำหรับนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจที่ให้ความผ่อนคลายอย่าง สปา นวด เทียนหอม น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ Prompt - Google Fonts
แบบตัวอักษรที่สัมผัสได้ถึงความชัดเจน มั่นคง และน่าเชื่อถือ รูปแบบตัวอักษรที่มีเส้นความหนาในขนาดที่พอเหมาะอ่านง่าย เหมาะแก่การนำมาพาดหัวหรือใช้สำหรับเป็นคำไฮไลต์ ที่ต้องการใช้เป็นจุดสำคัญเพื่อดึงดูดสายตาผู้ที่ได้พบเห็น เหมาะแก่การใช้ในธุรกิจที่ต้องการความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ อย่าง ประกันภัย โรงพยาบาล หรือธุรกิจเกี่ยวกับวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ IBM Plex Sans Thai - Google Fonts
ฟอนต์ไทย พัทยา (Pattaya) ลักษณะไร้หัวที่ให้ความรู้สึกอิสระ ลักษณะการออกแบบที่มีลูกเล่นตรงปลายเส้นตัวอักษรแบบโค้งมนตวัดขึ้น เป็นการผสมผสานที่สื่อถึงความดั้งเดิมและความร่วมสมัยได้เป็นอย่างดี เหมาะแก่การนำมาปรับใช้กับธุรกิจในยุคที่ทันสมัย แต่ยังคงต้องการรักษาความเป็นไทยอยู่อย่างเช่น อาหารไทย ขนมไทย ผ้าไทย หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเก่าแก่แบบดั้งเดิม
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ Pattaya - Google Fonts
สารบัญ (Sarabun) หนึ่งในฟอนต์ไทยที่ถูกเลือกให้เป็น ฟอนต์แห่งชาติ และถูกนำมาใช้เป็น ฟอนต์มาตรฐานราชการไทย และฟอนต์ไทยราชการนี้ยังถูกใช้ในหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษาอีกด้วย นั่นเพราะเป็นรูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย และมีลักษณะคล้ายคลึงกับตัวอักษรภาษาไทยดั้งเดิม ถูกปรับและออกแบบลายเส้น มุมโค้ง รวมถึงสัดส่วนขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม ถึงแม้จะถูกปรับขนาดให้เล็กลงกว่ามาตรฐานก็ยังคงความชัดเจนและอ่านง่ายได้ดังเดิม
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ Sarabun - Google Fonts
ใบ จามจุรี (Bai jamjuree) ฟอนต์ไทยยอดนิยมที่ถูกนำมาใช้ตีพิมพ์เป็นหนังสือ นิยาย แบบเรียน คู่มือต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาจำนวนมาก เพราะตัวอักษรที่ดูสบายตา อ่านง่าย เป็นทางการ สามารถปรับตัวอักษรให้มีความหนา เพื่อใช้สำหรับจุดที่ต้องการเน้นความสำคัญ หรือนิยมนำมาปรับขนาดให้เล็กลง เพื่อใช้สำหรับคำอธิบายเล็ก ๆ หรือใช้อธิบายหัวข้อรอง นิยมใช้ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ที่ต้องการใส่คำอธิบายส่วนประกอบและสรรพคุณของสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคอ่านได้ง่ายยิ่งขึ้น
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ Bai Jamjuree - Google Fonts
ฟอนต์ไทยรูปแบบสุดท้ายที่เรานำมาฝากกัน คือ ไตรรงค์ (Trirong) ด้วยชื่อที่มีความชัดเจนแสดงออกถึงความเป็นไทย และต้องการสะท้อนถึงแบบอักษรไทยดั้งเดิม ลักษณะตัวอักษรที่แคบ สูง ลายเส้นบาง จุดเชื่อมต่อตรงหัวตัวอักษรและมุมโค้งที่เป็นวงรี จึงเป็นฟอนต์ไทยที่ประหยัดพื้นที่ในการพิมพ์ พร้อมทั้งยังคงความอ่านง่ายและความชัดเจนของตัวอักษรได้เป็นอย่างดี
ดาวน์โหลดฟอนต์ไทยได้ที่ Trirong - Google Fonts
เป็นยังไงกันบ้างกับ 9 ฟอนต์ไทยยอดนิยมที่ ลลิตา แพ็คเกจจิ้ง นำมาฝากกัน มีหลากหลายรูปแบบ ทั้งการใช้งานแบบทางการและไม่เป็นทางการ ตัวอักษรไทยแบบมีหัวและไม่มีหัว โดยแต่ละรูปแบบให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปตามลายเส้นและรูปทรง
สำหรับการออกแบบออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือออกแบบแพคเกจจิ้ง ควรเลือกใช้ฟอนต์ไทยที่มีขนาดใหญ่สามารถอ่านได้ชัดเจน ทั้งการใช้เป็นโลโก้หรือเป็นคำอธิบายเล็ก ๆ บนบรรจุภัณฑ์ และหากต้องการพิมพ์โลโก้ลงบนกล่องกระดาษ ควรเลือกใช้ฟอนต์ไทยที่มีลายเส้นคมชัด มีขนาดความหนาที่พอดี เมื่อพิมพ์ลงบนกล่องกระดาษแล้วตัวอักษรยังคงอ่านได้ง่ายและชัดเจน
หากคุณต้องการที่ปรึกษาเรื่องการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กล่องพัสดุ ออกแบบแพคเกจจิ้ง ลลิตา แพ็คเกจจิ้ง เรายินดีให้คำปรึกษาการออกแบบในทุกขั้นตอนการผลิตกล่องกระดาษ เพื่อให้เป็นไปตามแบบและสื่อสารได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการมากที่สุด