• 053-271-296
  •  เปิดทำการ วันจันทร์ - วันเสาร์ เวลา 08:00-17:00 น.
ประเภทของการพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูก
06 ธ.ค. 2563

ประเภทของการพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูก

การพิมพ์กล่องกระดาษลูกฟูก คือ การพิมพ์ลวดลายด้วยวิธีต่าง ๆ ลงบนกระดาษที่เป็นคลื่นอยู่ตรงกลางและประกบด้วยกระดาษสองด้าน หรือที่เรียกกันว่า กระดาษลูกฟูก เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดดเด่น เพิ่มมูลค่า และสร้างเอกลักษณ์ให้แก่แบรนด์ของคุณ ซึ่งกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นเป็นที่นิยมในระบบขนส่ง เนื่องจากมีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี น้ำหนักเบา ประหยัดพื้นที่ขนส่งและราคาถูก ซึ่งในการขนส่งหลายบริษัทมักเลือกใช้กล่องที่ผลิตจากกระดาษลูกฟูก

ดังนั้นการที่กล่องพัสดุที่ทำจากกระดาษลูกฟูกสามารถสื่อสารอัตลักษณ์ของแบรนด์ตัวมันเองได้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะถ้ากล่องพัสดุของแบรนด์คุณนั้นมีลวดลายที่สวยงามและสะดุดตาก็จะทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่พบเห็นเกิดการจดจำแบรนด์ของคุณได้ในที่สุดค่ะ

 

ซึ่งการพิมพ์ลวดลายบนกล่องกระดาษลูกฟูกนั้น มีด้วยกันทั้งหมด 5 วิธี ได้แก่

 

1. การพิมพ์พื้นนูน (Relief Printing)

การพิมพ์ที่ใช้วิธีการให้ส่วนที่ต้องการให้เกิดภาพบนแม่พิมพ์มีพื้นผิวที่นูนกว่าส่วนอื่น เพื่อรองรับหมึกเพื่อเกิดเป็นภาพลงกระดาษลูกฟูก ซึ่งการพิมพ์พื้นนูน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Letterpress Printing หรือเรียกอีกอย่างว่าการพิมพ์แบบเรียงตัว ตามลักษณะการพิมพ์ที่ใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะกัดผิวจนเป็นตัวอักษร เป็นการพิมพ์พื้นนูนที่เก่าแก่ที่สุดและคิดค้นโดย นายโยฮันเนส กูเทนเบิร์ก (Johannes Gutenberg) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน
  • Flexographic Printing หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Flexo เป็นการพิมพ์พื้นนูนแบบใหม่ ที่ถูกพัฒนามาจากการพิมพ์แบบ Letterpress เป็นรูปแบบการพิมพ์ทางตรง มีระบบพิมพ์ที่ใช้รูปแบบการทำงานแบบลูกกลิ้งโดยใช้แม่พิมพ์มารับสีและกลิ้งไปบนวัสดุที่เราจะพิมพ์ จะมีบล็อกพิมพ์ซึ่งใช้โพลิเมอร์เป็นวัสดุในการผลิต เครื่องพิมพ์ระบบนี้จะใช้ระยะเวลาในการพิมพ์ระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในส่วนของการปรับตั้งค่าของแม่พิมพ์สีในแต่ละสีทำให้ได้ความแม่นยำ

 

2. การพิมพ์พื้นลึก (Recess Printing)

การพิมพ์พื้นลึกเป็นการพิมพ์ที่จะต้องใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องลึกสลักเป็นลวดลายที่ต้องการเพื่อที่จะเทสีลงไปบริเวณร่องและปาดสีในส่วนที่ไม่ต้องการออก หลังจากนั้นนำกระดาษมาวางและกดทับกระดาษโดยแท่นพิมพ์ที่มีแรงสูงเพื่อที่จะให้กระดาษและสีที่เทลงไปดูดซับกันอย่างสวยงาม โดยการพิมพ์ประเภทนี้มี 2 ประเภท ได้แก่

  • การพิมพ์กราวัวร์ หรือ โรโตกราววัวร์ (rotogravure) หรือ โฟโตกราวัวร์ (photogravure) คือการสร้างภาพผ่านแผ่นสกรีนกระจำมาทำแม่พิมพ์โลหะ เป็นถ่ายโอนหมึกพิมพ์ลงบนวัสดุใช้พิมพ์โดยตรง หมึกพิมพ์นี้มีลักษณะเหลว ความหนืดต่ำ โครงสร้างหน่วยพิมพ์นี้ไม่ซับซ้อน พิมพ์ได้บนวัสดุหลายชนิด หมึกพิมพ์ให้สีสันสด
  • การพิมพ์แพด (Pad Printing) คือ การที่แม่พิมพ์รับหมึกก็จะถ่ายหมึกให้ตัวกลางซึ่งทำจากยางซิลิโคนที่ถูกเรียกว่าแพด (Pad) แพดจะ ถ่ายโอนหมึกให้กับวัสดุใช้พิมพ์อีกทอดหนึ่ง เนื่องจากโรงพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้การพิมพ์ระบบนี้ในการพิมพ์เฉพาะผลิตภัณฑ์มากกว่าที่จะเป็นหนังสือ

 

3. การพิมพ์พื้นราบ (Planographic Printing)

การพิมพ์อาศัยหลักธรรมชาติที่น้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน โดยให้ส่วนที่ต้องการภาพจะเป็นไขหรือน้ำมัน แต่ส่วนที่ไม่ต้องการภาพจะชุ่มน้ำ โดยใช้ลูกกลิ้งที่มีหมึกเชื้อน้ำมันติดอยู่ กลิ้งลงบนแม่พิมพ์ที่มีน้ำหมาด ๆ จากนั้นก็ใช้วิธีการรัด กด ให้หมึกลงไปติดกระดาษ เกิดเป็นภาพต่าง ๆ ที่ต้องการ ก่อให้เกิดลักษณะของตัวงานพิมพ์และกระดาษนั้นอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งการพิมพ์พื้นราบ มี 2 ประเภท ได้แก่

  • การพิมพ์หิน คือ การพิมพ์ที่ใช้หินปูนพิมพ์หิน (lithographic limestone) หรือแผ่นโลหะที่มีผิวเรียบ เดิมการพิมพ์นี้ใช้น้ำมันหรือไขมัน แต่ในสมัยใหม่ภาพสร้างขึ้นโดยการใช้พอลิเมอร์ทำปฏิกิริยากับแผ่นพิมพ์อะลูมิเนียม
  • การพิมพ์ออฟเซ็ท คือ การใช้หลักการที่ว่าน้ำมันไม่รวมตัวกันในการสร้างงานพิมพ์ที่ต้องการ แต่ในสมัยใหม่คือการพิมพ์ที่หมึกจะสัมผัสกับแผ่นเพลทแม่พิมพ์และกระดาษโดยตรงผ่านลูกกลิ้ง

 

4. การพิมพ์พื้นฉลุ (Serigraphic printing)

การพิมพ์พื้นฉลุนั้นพิมพ์ที่จำเป็นที่จะต้องใช้แม่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นฉาก (Screen) แผ่นบาง ๆ มากั้นสีไว้ ซึ่งแผ่นสกรีนนั้นจะต้องมีลักษณะทึบพอที่น้ำหมึกจะไม่สามารถทะลุผ่านไปได้ และทำการฉลุลวดลายตามที่ต้องการ เพื่อจะได้พิมพ์สีผ่านฉากด้วยระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen) ลงบนกระดาษลูกฟูกเพื่อให้เกิดลวดลายสวยงาม

 

5. การพิมพ์ดิจิทัล (Digital Printing) 

การพิมพ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการพิมพ์ โดยใช้ระบบพิมพ์ 4 สี CMYK ทำให้วิธีการพิมพ์แบบดิจิทัล มีสีสันที่หลากหลายกว่าวิธีพิมพ์แบบอื่น ๆ เนื่องจากการพิมพ์ซ้อนทับกันของสีต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดสีอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งการพิมพ์แบบดิจิทัลสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท

  • การพิมพ์แบบถ่ายโอนความร้อน (Thermal Transfer Printing) คือ การพิมพ์ที่ใช้การส่งความร้อนไปยังแผ่นฟิล์มหมึก (Ribbon) หมึกจะอ่อนตัวลงและละลายมาติดบนกระดาษ การใช้หลักการพิมพ์แบบนี้ก็เช่น เครื่องพิมพ์บาร์โค้ด
  • การพิมพ์แบบพ่นหมึก/อิงค์เจ็ท (InkJet Printing) คือ การพิมพ์ที่พ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็ก ๆ ออกมาตามจุดที่เครื่องประมวลผลไว้ ลงบนวัตถุตามไฟล์ที่ออกแบบไว้ได้อย่างแม่นยำ
  • การพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์ (Electrostatic Printing) การพิมพ์วิธีนี้จะมีความซับซ้อนมากกว่าวิธีอื่น เนื่องจากการพิมพ์แบบไฟฟ้าสถิตย์จะใช้หลักการควบคุมลำแสงไฟฟ้าสะท้อนผ่านกระจกไปยังกระบอกโลหะที่มีประจุไฟฟ้าบวก ซึ่งภาพที่สะท้อนไปหากมีสีอ่อนกระบอกโลหะก็จะเปลี่ยนไปเป็นประจุลบ เพื่อที่จะดูดผงสีมาเกาะบนกระบอกโลหะ หลักการสร้างประจุบวกและลบนี่เองทำให้ภาพที่พิมพ์จากเครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser) เกิดลวดลายตามที่ต้องการ หลังจากที่กระบอกโลหะเกิดไฟฟ้าสถิตย์ดูดผงสีตามที่ต้องการครบแล้ว ก็จะนำกระดาษไปผ่านความร้อนเพื่อให้ผงสีนั้นเกาะติดและได้ภาพที่สวยงาม

 

 

 

 

 

เมื่อทราบวิธีการพิมพ์กล่องกระดาษแล้ว คุณก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ตามที่ต้องการและเลือกใช้วิธีการพิมพ์ที่เหมาะสมกับงานได้แล้วค่ะ หากสนใจกล่องกระดาษลูกฟูกที่มีรูปลักษณ์ และสีสันสวยงาม ลลิตาบรรจุภัณฑ์สามารถช่วยคุณออกแบบและผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกให้ตรงตามรูปแบบเพื่อส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์คุณได้ค่ะ

สนใจสั่งผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ลลิตา บรรจุภัณฑ์ ได้เลยนะคะ